พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระปิดตา วัดท้า...
พระปิดตา วัดท้ายย่าน อีกหนึ่งสุดยอดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ซึ่งคนรุ่นเก่ามักเรียกขานว่า ‘พระปิดตา บ่หยั่น’ นับเป็นพระกรุหนึ่งเดียวในชุดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ (แร่พลวง) ที่มีอายุการสร้างยาวนานที่สุด และด้วยพุทธคุณเป็นเลิศครบครัน จึงเป็นสุดยอดแห่งการแสวงหาของบรรดานักสะสมพระกรุเก่า รวมถึงผู้ชื่นชอบพระปิดตามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความที่หาของแท้ๆ ได้ยากยิ่งนัก ค่านิยมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

พระปิดตา วัดท้ายย่าน มีการค้นพบที่ กรุวัดท้ายย่าน อ.สรรค์บุรี ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากโบราณ ที่ยังพอมีเค้าโครงเก่าอยู่บ้างเท่านั้น นอกจากพระปิดตาแล้ว ยังพบ พระลีลาเมืองสรรค์ และพระสรรค์นั่งไหล่ยก บรรจุในกรุเดียวกัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสรรค์บุรี ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองพระ” มีวัดร่วม 200 วัด เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสมัยอู่ทองที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อคราวสงครามก็นับเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการรบทัพจับศึก ผู้รู้หลายๆ ท่านลงความเห็นว่า พระปิดตาท้ายย่านนี้น่าจะสร้างในราวกลางถึงปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะพบรวมอยู่กับพระเครื่องในสมัยเดียวกัน

เท่าที่พบมี 3 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อแร่พลวง เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อดินผสมผงใบลาน ซึ่งจะพบใน ‘พิมพ์กบ’ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับเนื้อที่ได้รับความนิยม คือ “เนื้อแร่พลวง” โดยเนื้อแร่พลวงนี้ เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อถลุงให้บริสุทธิ์แล้วจะมีความแข็งที่ผิวนอก แต่เนื้อในพรุน ไม่ยึดเกาะกันเหมือนโลหะชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อได้รับการกระทบหรือกระแทกแรงๆ จึงมักจะชำรุดแตกหักเป็นชิ้นๆ ทำให้การเก็บรักษาต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และ พิมพ์เขียด ซึ่งในสามพิมพ์นิยมนี้ “พิมพ์กบ” นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม อาจเนื่องด้วยมีขนาดพอเหมาะพอดีกว่าทุกพิมพ์

เริ่มจาก ‘พิมพ์ชีโบ’ ลักษณะพิมพ์ทรงค่อนข้างใหญ่กว่าทุกพิมพ์ พระเศียรปรากฏเป็นเส้นนูนคล้ายสวมหมวกชีโบ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ พระเมาลีเป็นต่อม ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่เป็นเส้นจากพระอังสะลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ ‘ปิดทวาร’ และพระศอด้านหลังปรากฏเส้นพระศอ เป็นจุดเม็ดไข่ปลา ด้านล่างลงมาเป็นอักขระตัว "อุ" ส่วน ‘พิมพ์กบ’ พิมพ์ทรงเล็กกว่าพิมพ์ชีโบ เมื่อมองจากด้านหลังองค์พระจะมีลักษณะคล้าย "กบ" จึงใช้เรียกชื่อพิมพ์ พระเศียรไม่ปรากฏรายละเอียด บางท่านจึงเรียก ‘พิมพ์เศียรโล้น’ ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสะลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ ‘ปิดทวาร’ สุดท้ายคือ ‘พิมพ์เขียด’ ซึ่งพิมพ์ทรงจะเล็กที่สุด พุทธลักษณะคล้ายพิมพ์ชีโบ แต่พระเศียรมียอดแหลม ยาว และเล็กกว่า แลดูคล้ายๆ เขียด ด้านหลังปรากฏอักขระขอม ตัว "อุ" เช่นเดียวกัน

ด้วยความเป็นพระกรุหนึ่งเดียวและมีอายุยาวนานที่สุดในชุด “เบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล” กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศครบครัน ทั้ง คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้ “พระปิดตา วัดท้ายย่าน” เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยพระที่พบมีจำนวนน้อยมาก การทำเทียมเลียนแบบจึงมีตามมามากมาย ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่ อันดับแรกให้พิจารณาเนื้อหาผิวพรรณธรรมชาติบนองค์พระเป็นหลัก ตามพื้นผิวขององค์พระจะปรากฏเส้นเสี้ยนและรอยย่นคล้าย ‘หนังช้าง’ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีมากหรือน้อยในแต่ละองค์ไม่แน่นอน ไม่ใช่ใช้ตะไบแต่ง ต้องดูลักษณะธรรมชาติให้ขาด นอกจากนี้จะมีคราบขี้กรุอันเกิดจากองค์พระบรรจุกรุเป็นเวลาเนิ่นนาน จากนั้นจึงมาพิจารณาลักษณะพิมพ์ทรงว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ครับผม

เครดิตข้อมูล : สยามรัฐ
สัปดาห์พระเครื่อง/อ.ราม วัชรประดิษฐ์
ผู้เข้าชม
1760 ครั้ง
ราคา
โทรถาม+ไลน์ถาม
สถานะ
เปิดให้บูชา
ชื่อร้าน
ทอง ธนบุรี
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
thongtransport หรือแอดด้วยเบอร์โทร 0637894742
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 7502110637

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ว.ศิลป์สยามTotoTatoLe29AmuletErawansomemanยุ้ย พลานุภาพ
chaithawatkaew กจ.Putanarintonfuchoo18สยามพระเครื่องไทยholypanyadvm
NongBossพระดี46ก้อง วัฒนาภูมิ IRเสือรากไทรPannee26
Chumpholบ้านพระสมเด็จบ้านพระหลักร้อยep8600สายน้ำอุ่นเจริญสุข
AirphaputornกรัญระยองAchiหมี คุณพระช่วยnatthanetRAPIN

ผู้เข้าชมขณะนี้ 522 คน

เพิ่มข้อมูล

พระปิดตา วัดท้ายย่าน อีกหนึ่งสุดยอดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระปิดตา วัดท้ายย่าน อีกหนึ่งสุดยอดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล
รายละเอียด
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ซึ่งคนรุ่นเก่ามักเรียกขานว่า ‘พระปิดตา บ่หยั่น’ นับเป็นพระกรุหนึ่งเดียวในชุดเบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ (แร่พลวง) ที่มีอายุการสร้างยาวนานที่สุด และด้วยพุทธคุณเป็นเลิศครบครัน จึงเป็นสุดยอดแห่งการแสวงหาของบรรดานักสะสมพระกรุเก่า รวมถึงผู้ชื่นชอบพระปิดตามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความที่หาของแท้ๆ ได้ยากยิ่งนัก ค่านิยมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ

พระปิดตา วัดท้ายย่าน มีการค้นพบที่ กรุวัดท้ายย่าน อ.สรรค์บุรี ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากโบราณ ที่ยังพอมีเค้าโครงเก่าอยู่บ้างเท่านั้น นอกจากพระปิดตาแล้ว ยังพบ พระลีลาเมืองสรรค์ และพระสรรค์นั่งไหล่ยก บรรจุในกรุเดียวกัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสรรค์บุรี ได้ชื่อว่าเป็น “เมืองพระ” มีวัดร่วม 200 วัด เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสมัยอู่ทองที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อคราวสงครามก็นับเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการรบทัพจับศึก ผู้รู้หลายๆ ท่านลงความเห็นว่า พระปิดตาท้ายย่านนี้น่าจะสร้างในราวกลางถึงปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะพบรวมอยู่กับพระเครื่องในสมัยเดียวกัน

เท่าที่พบมี 3 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อแร่พลวง เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อดินผสมผงใบลาน ซึ่งจะพบใน ‘พิมพ์กบ’ เป็นส่วนใหญ่ สำหรับเนื้อที่ได้รับความนิยม คือ “เนื้อแร่พลวง” โดยเนื้อแร่พลวงนี้ เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อถลุงให้บริสุทธิ์แล้วจะมีความแข็งที่ผิวนอก แต่เนื้อในพรุน ไม่ยึดเกาะกันเหมือนโลหะชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อได้รับการกระทบหรือกระแทกแรงๆ จึงมักจะชำรุดแตกหักเป็นชิ้นๆ ทำให้การเก็บรักษาต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก

พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และ พิมพ์เขียด ซึ่งในสามพิมพ์นิยมนี้ “พิมพ์กบ” นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม อาจเนื่องด้วยมีขนาดพอเหมาะพอดีกว่าทุกพิมพ์

เริ่มจาก ‘พิมพ์ชีโบ’ ลักษณะพิมพ์ทรงค่อนข้างใหญ่กว่าทุกพิมพ์ พระเศียรปรากฏเป็นเส้นนูนคล้ายสวมหมวกชีโบ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ พระเมาลีเป็นต่อม ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่เป็นเส้นจากพระอังสะลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ ‘ปิดทวาร’ และพระศอด้านหลังปรากฏเส้นพระศอ เป็นจุดเม็ดไข่ปลา ด้านล่างลงมาเป็นอักขระตัว "อุ" ส่วน ‘พิมพ์กบ’ พิมพ์ทรงเล็กกว่าพิมพ์ชีโบ เมื่อมองจากด้านหลังองค์พระจะมีลักษณะคล้าย "กบ" จึงใช้เรียกชื่อพิมพ์ พระเศียรไม่ปรากฏรายละเอียด บางท่านจึงเรียก ‘พิมพ์เศียรโล้น’ ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสะลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ ‘ปิดทวาร’ สุดท้ายคือ ‘พิมพ์เขียด’ ซึ่งพิมพ์ทรงจะเล็กที่สุด พุทธลักษณะคล้ายพิมพ์ชีโบ แต่พระเศียรมียอดแหลม ยาว และเล็กกว่า แลดูคล้ายๆ เขียด ด้านหลังปรากฏอักขระขอม ตัว "อุ" เช่นเดียวกัน

ด้วยความเป็นพระกรุหนึ่งเดียวและมีอายุยาวนานที่สุดในชุด “เบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล” กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศครบครัน ทั้ง คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้ “พระปิดตา วัดท้ายย่าน” เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยพระที่พบมีจำนวนน้อยมาก การทำเทียมเลียนแบบจึงมีตามมามากมาย ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่ อันดับแรกให้พิจารณาเนื้อหาผิวพรรณธรรมชาติบนองค์พระเป็นหลัก ตามพื้นผิวขององค์พระจะปรากฏเส้นเสี้ยนและรอยย่นคล้าย ‘หนังช้าง’ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีมากหรือน้อยในแต่ละองค์ไม่แน่นอน ไม่ใช่ใช้ตะไบแต่ง ต้องดูลักษณะธรรมชาติให้ขาด นอกจากนี้จะมีคราบขี้กรุอันเกิดจากองค์พระบรรจุกรุเป็นเวลาเนิ่นนาน จากนั้นจึงมาพิจารณาลักษณะพิมพ์ทรงว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ครับผม

เครดิตข้อมูล : สยามรัฐ
สัปดาห์พระเครื่อง/อ.ราม วัชรประดิษฐ์
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม+ไลน์ถาม
จำนวนผู้เข้าชม
1761 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
ทอง ธนบุรี
URL
เบอร์โทรศัพท์
0637894742
ID LINE
thongtransport หรือแอดด้วยเบอร์โทร 0637894742
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกสิกรไทย / 7502110637




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี